วิธีการเล่นหมากล้อม
กติกาการเล่น
1. ใช้ตัวหมากของตน ล้อมพื้นที่ว่างบนกระดาน ให้ดินแดนของตนมากกว่าคู่ต่อสู้
2. ผู้เล่นมี 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเล่นหมากสีดำ อีกฝ่ายเล่นหมากสีขาว โดยฝ่ายที่เล่นหมากสีดำได้เริ่มก่อน
3. วางตัวหมากลงบนจุดตัดในกระดาน จุดตัดหนึ่งจุด วางหมากได้ 1 เม็ด เมื่อวางหมากแล้วไม่สามารถเลื่อนหมากได้
4. เมื่อสิ้นสุดเกมส์ จะนับดินแดนบนกระดาน ฝ่ายที่ได้สามารถล้อมดินแดนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะ
การจับกิน
1. เมื่อหมากหรือกลุ่มหมากของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกล้อมโดยหมากของฝ่ายตรงข้ามอย่างประชิดตัว ทุกด้านและไม่มีช่องว่างภายในเหลือ ไม่ว่าจะที่กลางกระดาน ขอบข้างกระดานหรือมุมกระดาน หมากหรือกลุ่มหมากนั้นก็ถือว่าถูกจับกินตาย ต้องเก็บออกจากกระดาน แล้วนำไปเป็นหมาก เชลยของฝ่ายที่จับกินได้
2. เมื่อฝ่ายใด วางหมากที่สามารถจับกินฝ่ายตรงข้ามในตาเล่นครั้งต่อไปได้ ผู้เล่นฝ่ายนั้น ต้องกล่าวคำว่า "อะตาริ(Atari)" ซึ่งคล้ายกับเตือนฝ่ายตรงข้ามว่า "ในตาต่อไป ผมสามารถจับ หมากคุณกินได้นะ" การกล่าวอะตารินี้ ไม่เชิงบังคับเป็นกฎว่าต้องกล่าว แต่เป็นการแสดงมารยาทของนักเล่นโกะ ที่จะไม่พยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ ด้วยการฉวยโอกาสจากความเผลอของเขา เพราะโกะเป็นเกมส์ของสุภาพชนและปัญญาชน ที่แข่งขันกันด้วยปัญญา ไม่ใช่ฉกฉวยโอกาส หาช่องเอาชนะ
1. ดำวางหมากที่ตำแหน่งที่ 1 ดังรูป
2. หมากขาวถูกกิน และเก็บออกจากกระดาน จากรูปจะเห็นว่าเกิดการต่อรอง(โคะ)ขึ้น
3. ขาวไม่สามารถวางหมากที่ตำแหน่งที่ 2 ได้ เพราะเป็นการกินกลับไปกลับมา ไม่สิ้นสุด
4. แต่ถ้าขาว 2 และ ดำ 3 ไปเล่นที่ตำแหน่งอื่นแล้ว ขาวสามารถกลับมากินดำ 1 ได้
สถานการณ์ต่างรอด (Seki)
สถานการณ์ต่างรอด คือ สถานการณ์หนึ่งที่กลุ่มหมากของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายไม่มี 2 ห้องทั้งคู่ แต่กลุ่มหมากของทั้ง 2 ฝ่ายก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกลุ่มหมากของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์นี้ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่สามารถอะตาริเพื่อหวังจับกินกลุ่มหมากของฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะจะมีผล ทำให้กลุ่มหมากของตนเองถูกจับกินทันที ในสถานการณ์ต่างรอด (Seki) นี้ เมื่อจบเกมส์จะ ถือว่ากลุ่มหมากของทั้ง 2 ฝ่าย มีชีวิตไม่ตายทั้งคู่ และพื้นที่ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นี้จะไม่นับ คะแนน ถือว่ามีพื้นที่เป็น 0 คะแนน ( แต่พื้นที่ที่เป็นห้องของแต่ละฝ่าย จะต้องนับรวมคะแนน ด้วยและหมากเชลยที่ถูกจับกิน ก็จะต้องนำมารวมนับคะแนนตามปกติด้วย )
จากรูป ถ้าผู้เล่นวางหมากของตนที่ A ก็จะถูกกินที่ B ถ้าวางที่ B ก็จะถูกกินที่ A ดังนั้นต่างฝ่ายต่างไม่สามารถวางหมากที่ A หรือ B
จากรูป ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต่างไม่สามารถวางหมากของตนที่ A หรือ B ได้ เพราะจะทำให้ถูกจับกิน
การจบเกม
1. เกมส์จะจบลง เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ขอผ่านตาเล่นติดต่อกัน 2 ครั้ง เพราะทั้งสองฝ่ายเห็นว่า วางหมากไปก็ไม่มีประโยชน์
2. หมากหรือกลุ่มหมากที่ไม่มีห้องจริง 2 ห้อง และไม่สามารถหนีการจับกินของคู่ต่อสู้ได้ จะถือว่ากลุ่มหมากนั้น ตาย เมื่อจบเกมส์ต้องเก็บออกเป็นหมากเชลยของฝ่ายตรงข้าม โดยฝ่ายตรงข้ามไม่จำเป็นต้องเล่นหมากจับกิน
2. การนับคะแนนแบบจีน จะนับทั้งคะแนนพื้นที่(จุดตัดว่าง) และเม็ดหมากทั้งหมดที่อยู่บนกระดาน โดยจะไม่นำหมากเชลยมาหักลบออกจากคะแนนพื้นที่
ที่มา http://www.thaibg.com/template.php?CenterFile=go_rule.html&Title=Go%20Rule
การจับกิน
1. เมื่อหมากหรือกลุ่มหมากของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกล้อมโดยหมากของฝ่ายตรงข้ามอย่างประชิดตัว ทุกด้านและไม่มีช่องว่างภายในเหลือ ไม่ว่าจะที่กลางกระดาน ขอบข้างกระดานหรือมุมกระดาน หมากหรือกลุ่มหมากนั้นก็ถือว่าถูกจับกินตาย ต้องเก็บออกจากกระดาน แล้วนำไปเป็นหมาก เชลยของฝ่ายที่จับกินได้
2. เมื่อฝ่ายใด วางหมากที่สามารถจับกินฝ่ายตรงข้ามในตาเล่นครั้งต่อไปได้ ผู้เล่นฝ่ายนั้น ต้องกล่าวคำว่า "อะตาริ(Atari)" ซึ่งคล้ายกับเตือนฝ่ายตรงข้ามว่า "ในตาต่อไป ผมสามารถจับ หมากคุณกินได้นะ" การกล่าวอะตารินี้ ไม่เชิงบังคับเป็นกฎว่าต้องกล่าว แต่เป็นการแสดงมารยาทของนักเล่นโกะ ที่จะไม่พยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ ด้วยการฉวยโอกาสจากความเผลอของเขา เพราะโกะเป็นเกมส์ของสุภาพชนและปัญญาชน ที่แข่งขันกันด้วยปัญญา ไม่ใช่ฉกฉวยโอกาส หาช่องเอาชนะ
จากรูป
1. ขาวล้อมดำไว้ 3 ด้าน
2. เมื่อขาววางหมากตรงจุดที่มีเครื่องหมาย ดำจะถูกล้อมอย่างประชิดตัว และไม่มีช่องว่างภายในเหลือ
3. หมากดำถูกเก็บออกจากกระดาน ไปเป็นหมากเชลย
* เมื่อผู้เล่นวางหมากขาวที่จุด A แล้ว ต้องกล่าวคำว่า "อะตาริ" เพราะในตาต่อไป หมากขาวสามารถจับกินหมากดำได้
การกินที่ขอบกระดาน
1. หมากดำล้อมหมากสีขาวไว้ 2 ด้าน
2. ผู้เล่นวางหมากสีดำตรงจุดที่มีเครื่องหมาย
3. หมากขาวถูกเก็บออกจากกระดาน ไปเป็นหมากเชลย
การกินที่มุม
1. หมากขาวล้อมหมากดำไว้ 1 ด้าน
2. ผู้เล่นวางหมากขาวตรวจุดที่มีเครื่องหมาย
3. หมากดำถูกเก็บออกจากระดานไปเป็นหมากเชลย
จากรูป
1. หมากดำล้อมหมากขาวไว้ โดยเหลือเพียง 1 ด้าน
2. ผู้เล่นวางหมากดำตรงจุดที่มีเครื่องหมายทำให้หมากขาวถูกล้อมทุกด้าน
3. หมากขาวถูกเก็บออกจากกระดานไปเป็นหมากเชลย
จากรูป คือ การกินที่ขอบกระดาน เมื่อผู้เล่นวางหมากดำตรงจุดที่มีเครื่องหมาย จะทำให้หมากขาวถูกล้อมหมดทุกด้าน หมากขาวทั้งหมดจึงต้องถูกเก็บออกจากกระดานไปเป็นหมากเชลย
จากรูป เมื่อผู้เล่นวางหมากดำตรงจุดที่มีเครื่องหมาย หมากสีขาวจะยังไม่ถูกกิน เพราะยังเหลือช่องว่างภายในอีก 1 จุด ดำต้องปิดช่องว่างให้ครบ จึงจะสามารถกินหมากขาวได้ และแม้ว่าหมากขาวจะยังไม่ตาย แต่ก้อไม่มีทางรอด เมื่อจบเกมส์ หมากขาวกลุ่มนี้ก็ต้องเป็นเชลยของฝ่ายดำ
จากรูป เมื่อผู้เล่นวางหมากดำตรงจุดที่มีเครื่องหมาย จะทำให้หมากขาวถูกล้อมไว้ทุกด้าน หมากขาวจึงต้องถูกเก็บออกจากกระดานไปเป็นหมากเชลย
จากรูป เมื่อผู้เล่นวางหมากดำตรงจุดที่มีเครื่องหมายหมากขาวจะถูก ล้อมไว้ทุกด้าน ทำให้หมากขาวถูกกิน ต้องเก็บออกจากกระดานทันที
หมากเป็น หมากตาย
ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ไม่สามารถวางหมาก ณ จุดที่จะทำให้หมากหรือกลุ่มของตนถูกล้อมโดยสมบูรณ์ หรืออาจพูดได้ว่า ห้ามฆ่าตัวตาย นั่นเอง ยกเว้นการเดินนั้นจะทำให้คู่ต่อสู้ตายทันที (จับกินคู่ต่อสู้ทันที)
จากรูป ผู้เล่นไม่สามารถวางหมากขาวที่จุด 1 , 2 หรือ 3 ได้ เพราะจะทำให้ หมากของตนถูกล้อมทุกด้าน ถือเป็นการฆ่าตัวตาย เราเรียกจุด 1,2 และ 3 ว่า "ห้อง" ของฝ่ายดำ
รูปนี้ก็เช่นกัน ผู้เล่นไม่สามารถวางหมากขาวที่จุด 1,2,3 หรือ 4 ได้ เพราะจะทำให้หมากของตนถูกล้อมทุกด้าน
จากรูป แม้ว่าหมากดำจะล้อมหมากขาวไว้โดยรอบได้ แต่หมากขาวมีห้องภายใน 2 ห้อง ฝ่ายดำจึงไม่สามารถวางหมากที่จุด 1,2,3,4,5 หรือ 6 ได้ เพราะถือเป็นการฆ่าตัวตาย หมากขาวทั้ง 3 กลุ่มในรูปจึงไม่ตาย สามารถอยู่ต่อไปได้จนจบเกมส์
สรุปได้ว่า "กลุ่มหมากที่มี 2 ห้องแยกจากกัน จะมีชีวิต"
การต่อลอง (โคะ)
การต่อรอง(KO) คือ สถานการณ์ที่ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย สามารถจับกินกันกลับไปกลับมาได้ไม่สิ้นสุด กติกาของสถานการณ์มีอยู่ว่า ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งจับกินหมากในการต่อรอง(KO)แล้ว อีกฝ่ายหนึ่งจะจับกินคืนในทันทีไม่ได้ เว้น แต่ต้องนำหมากไปเล่นที่อื่นอย่างน้อย 1 ตาก่อน แล้วจึงกลับมาจับกินคืนได้
จากรูป
คือ การต่อรอง(KO) ซึ่งอธิบายได้ดังนี้1. ดำวางหมากที่ตำแหน่งที่ 1 ดังรูป
2. หมากขาวถูกกิน และเก็บออกจากกระดาน จากรูปจะเห็นว่าเกิดการต่อรอง(โคะ)ขึ้น
3. ขาวไม่สามารถวางหมากที่ตำแหน่งที่ 2 ได้ เพราะเป็นการกินกลับไปกลับมา ไม่สิ้นสุด
4. แต่ถ้าขาว 2 และ ดำ 3 ไปเล่นที่ตำแหน่งอื่นแล้ว ขาวสามารถกลับมากินดำ 1 ได้
สถานการณ์ต่างรอด (Seki)
รูปนี้เป็นสถานการณ์ต่างรอดที่กลางกระดาน
จากรูป ถ้าผู้เล่นวางหมากของตนที่ A ก็จะถูกกินที่ B ถ้าวางที่ B ก็จะถูกกินที่ A ดังนั้นต่างฝ่ายต่างไม่สามารถวางหมากที่ A หรือ B
รูปนี้เป็นสถานการณ์ต่างรอด ที่เกิดบริเวณขอบกระดาน
จากรูป ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต่างไม่สามารถวางหมากของตนที่ A หรือ B ได้ เพราะจะทำให้ถูกจับกิน
รูปนี้เป็นสถานการณ์ต่างรอดที่เกิดบริเวณมุมกระดาน
จากรูป ดำไม่สามารถวางหมากที่ A ได้ เพราะ ขาวจะสามารถจับกินดำที่ B ...ฝ่ายขาวก็ไม่สามารถวางหมากที่ A ได้ เช่นกัน เพราะดำจะจับกินที่ C
*จุด B เป็นพื้นที่ของดำ (1 คะแนน)
จุด C เป็นพื้นที่ของขาว (1 คะแนน)
จุด A ไม่นับคะแนน
1. เกมส์จะจบลง เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ขอผ่านตาเล่นติดต่อกัน 2 ครั้ง เพราะทั้งสองฝ่ายเห็นว่า วางหมากไปก็ไม่มีประโยชน์
2. หมากหรือกลุ่มหมากที่ไม่มีห้องจริง 2 ห้อง และไม่สามารถหนีการจับกินของคู่ต่อสู้ได้ จะถือว่ากลุ่มหมากนั้น ตาย เมื่อจบเกมส์ต้องเก็บออกเป็นหมากเชลยของฝ่ายตรงข้าม โดยฝ่ายตรงข้ามไม่จำเป็นต้องเล่นหมากจับกิน
ภาพการแข่งขันจริง เมื่อสิ้นสุดเกมส์ โดยขาวเป็นฝ่ายชนะ
การนับคะแนนตัดสิน
1. การนับคะแนนนั้นมีอยู่หลายวิธี เช่น การนับแบบญี่ปุ่น , การนับแบบจีน , การนับแบบอิ้งชางฉี ฯลฯ ซึ่งมีวิธีการนับแตกต่างกัน แต่ผลต่างแพ้ชนะของเกมส์จะออกมาเท่ากันเสมอ2. การนับคะแนนแบบจีน จะนับทั้งคะแนนพื้นที่(จุดตัดว่าง) และเม็ดหมากทั้งหมดที่อยู่บนกระดาน โดยจะไม่นำหมากเชลยมาหักลบออกจากคะแนนพื้นที่
ที่มา http://www.thaibg.com/template.php?CenterFile=go_rule.html&Title=Go%20Rule
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น